วันพฤหัสบดี, 9 พฤษภาคม 2567

วัดร่องขุ่น เชียงราย ที่มาของแรงบันดาลใจ ในการสร้าง วัดที่ขาวที่สุด!!

วัดร่องขุ่น เชียงราย หากว่ากำลังพูดถึงที่เที่ยวเมืองเหนืออย่างจังหวัดเชียงราย แน่นอนว่า สถานที่แรกที่เรานั้นจะคิดถึงและนึกภาพ ก็ต้องเป็น วัดร่องขุ่น เชียงราย วัดที่ถูกสร้างขึ้นโดนอาจารย์ เฉลิมชัย ที่ต้องบอกเลยว่าที่มาของวัดนี้ไม่ได้แค่เขียนแบบแล้วสร้างเลย แต่ วัดร่องขุ่น ประวัติ ความเป็นมาของวันนี้มันช่างลึกศึกเข้าถึงจิตวิญญาณของนักศิลปะอย่างอาจารย์เฉลิมชัย โดยแรงบันดาลใจที่ว่านั้นมาจากไหน และอะไรเป็นตัวชี้นำของการวัดแห่งนี้ วันนี้แอดได้ทำการรวบรวมข้อมูลมาให้เข้าใจกันแบบได้เข้าถึงจิตวิญญาณของนักศิลปะอย่างอาจารย์เฉลิมใจกันเลยทีเดียว

วัดร่องขุ่น เชียงราย

วัดร่องขุ่น

เดิมทีแล้วนั้นในยุคสมัยพระดวงรส อาภากโร ที่ยังเป็นเจ้าอาวาส วัดร่องขุ่น ถือได้ว่าเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาก มีพระจำพรรษาถึง 4 รูป สามเณรร่วม 10 รูป แม่ชี 2 คน แต่เมื่อเวลาผ่าน พระดวงรสได้ย้ายไปอยู่วัดอื่น ทำให้วัดร่องขุ่นขาดผู้นำคณะสงฆ์ และทำให้เหล่าสาวกพระพุทธเจ้าได้ออกจากวัดไปอยู่ที่อื่นกันมาก จนเมื่อปี พ.ศ. 2499 พระไสว ชาคโรท่านได้สร้างอุโบสถในปี พ.ศ. 2507 และในปี พ.ศ. 2529 ก็ได้ได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงวัด ส่วนในปี พ.ศ. 2533 ก็ได้สร้างหอฉันและซุ้มประตูวัดด้านข้างให้ดูดีขึ้น และมีช่วงปี พ.ศ. 2539 วัดเริ่มขาดแคลนเพราะภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกจนไม่ได้บูรณะต่อ

วัดร่องขุ่น รูปภาพ

จนมาถึงในช่วงปี พ.ศ. 2540 อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรระดับชาติ ที่เรานั้นรู้จักกันดี ได้เข้ามาสานต่อการบูรณะวัด โดยการทำงานครั้งนี้ของอาจารย์เฉลิมชัย ได้ออกปากว่าการทำงานครั้งนี้ถือว่าสร้างอุโบสถถวายเป็นพุทธบูชาหวังให้เป็น “งานศิลป์เพื่อ แผ่นดิน” อาจารย์เฉลิมชัย ได้เข้าสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จนทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักจนที่ชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมชมวัดแห่งนี้

วัดร่องขุ่น ประวัติ

วัดร่องขุ่น จุดเด่น โดยที่มาของวัดนี้ทางด้าน อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ท่านได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อในช่วงตอนที่กำลังสร้างวัดไว้ว่า ท่านนั้นได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งด้วยกัน นั่นก็คือ

  • “ชาติ” โดยแกนั้นให้ความหมายว่า ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ หวังให้ศิลปะเป็นสมบัติของแผ่นดิน
  • “ศาสนา” แกให้ความหมายว่า ธรรมะนั้นได้ทำการเปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น
  • “พระมหากษัตริย์” แกให้ความหมายว่า จากที่แกนั้นได้มีการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง ทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะขึ้นมาถวายนั่นเอง